อะตอมบุหรี่ไฟฟ้าจริงๆแล้ว มีกี่แบบกี่ประเภท และมีลักษณะอย่างไร ? บทความนี้จะอธิบายให้ชัดเจน โดยเจ้าหัวอะตอมเป็นตัวกลางสำหรับรับความร้อนจากแบตเตอรี่ที่จะคอยเปลี่ยนน้ำยต่างๆ เพื่อให้กลายเป็นสารระเหย หรือว่า ควัน นั่นเอง โดยอะตอมบุหรี่ไฟฟ้าโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอายุการใช้งานที่นาน มากถึง 3 ปี ผลิตจากสแตนเลส และไทเทเนียม เพื่อให้มีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูง แต่ตัวอะตอมของบุหรี่ไฟฟ้าเองก็มีแยกย่อยเป็นหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับวิธีการผลิต
อะตอมบุหรี่ไฟฟ้า หรือ Atomizer บุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร
อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้าอะตอมบุหรี่ไฟฟ้าถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนนึง ในตัวบุหรี่ไฟฟ้าเลยซึ่งประกอบไปด้วย
- รูสำหรับยึดลวด
- ฝาครอบ
- ปากสูบ
โดยหลักการทำงานของเจ้าอะตอมไฟฟ้าจะเริ่มจากแบตที่จ่ายไฟให้กับคอยล์จากนั้นความร้อนจะถูกส่งเข้ามายังขดลวดจากนั้นขดลวดจะสะสมความร้อนจนถึงจุดหนึ่ง และจะทำให้ น้ำยาที่เคลือบอยู่บนสำลีระเหยออกมาเป็นควัน และทำให้เราสูบควันออกมาจากหัวอตอมได้ ซึงหลักการทำงานของเจ้าอะตอมนี้ จะเปลี่ยนตามลักษณะของอะตอม แล้วอะตอมบุหรี่ไฟฟ้ามีทั้งหมดกี่แบบ ?
ลักษณะของอะตอมบุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมดมีกี่แบบ อะไรบ้าง ?
ลักษณะของอะตอมบุหรี่ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ จะมีทั้งหมด 4 แบบ ซึ่งแต่ละแบบจะแตกต่างกันออกไปตามวิธีการดึงน้ำยา หรือหยดน้ำยา เพื่อเป็นตัวตั้งต้นให้มีควันออกมาได้ โดยบุหรี่ไฟฟ้าอะตอมได้ถูกพัฒนาอยู่เรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักสูบ
1. RTA (Rebuildable Tank Atomizer)
บุหรี่อะตอมแบบ อะตอมแทงค์ เป็นแบบที่มีแทงค์เก็บน้ำยาอยู่ในตัวข้อดีคือสามารถเก็บน้ำยาได้เยอะ และไม่ต้องเติมน้ำอย่าอยู่บ่อยๆ ส่วนข้อเสียคือ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญระดับนึงในการใช้อุปกรณ์เดินน้ำยา เพราะต้องใช้อย่างระมัดระวังไม่ให้น้ำยารั่วซึม เหมาะสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าค่อนช้างบ่อย และเคยชินกับการเติมน้ำยาเอง
2. RBA (Rebuildable Atomizer)
ตัวนี้เป็นอะตอมที่ออกแบบมาสำเร็จรูป พร้อมใช้งาน เป็นหัวอะตอมบุหรี่ไฟฟ้าสำหรับมือใหม่ เพราะว่าไม่จำเป็นต้องปรับแต่งขดลวดและไม่ต้องเติมน้ำยาบ่อย เพียงแค่เติมน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าลงบนตัวแทงค์เก็บ และให้สำลีดูดซับน้ำยาไป บุหรี่ไฟฟ้าก็จะพร้อมใช้งาน
3. RDTA (Rebuildable Dripping Tank Atomizer)
ตัว RDTA เป็นอะตอมที่รวมตัว RDA และ RTA ไว้ โดยด้านบนเป็นตัวหยดสูบ ส่วนด้านล่างก็มีแทงค์เก็บน้ำยา โดยตัวนี้ทำงานคล้ายๆ RDA คือต้องรอสำลีซับน้ำยาก่อน จึงจะสามารถสูบได้
4. RDA (Rebuildable Dripping Atomizer)
อะตอมบุหรี่ไฟฟ้าแบบ RDA เป็นแบบที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะให้กลิ่น และควันที่ค่อนข้างเยอะ และวิธีใช้งานจะต้องมีความรู้ในด้านการปรับแต่งขดลวดระดับนึงเพราะต้องใส่สำลีและปรับแต้งขดลวดด้วยตัวเอง และหยดน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าลงบนสำลีอย่างสม่ำเสมอ หากสำลีแห้งจะเกิดการเผาใหม้และสร้างอันตรายแก่ผู้สูบได้
วิธีแก้ไขอะตอมบุหรี่ไฟฟ้าและการดูแล เบื้องต้น
อะตอมในบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอีกส่วนหลักๆ ที่จะเจอปัญหาได้บ่อย ทั้งการลัดวงจร (Atomizer Short) ความต้านทานต่ำเกิน (Atomizer Low) หรือไม่ก็สัมผัสกันของขั้ว (No Atomizer) การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่สามารถทำได้เองคือทำความสะอาดขั้วและตัวเครื่อง หรือเปลี่ยนคอยล์ใหม่ และตรวจสอบสภาพขดลวด เพื่อทำให้บุหรี่ไฟฟ้าสูบได้
1. Atomizer Short
ถ้าแจ้งเตือนว่า Atomizer Short คือมีการลัดวงจรในระบบ ซึ่งเกิดจากขั้วคอยล์สัมผัสกับวัตถุอื่นที่ไม่ใช่ขั้วของเครื่องโดยตรง หรือมีคราบสกปรกจากน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าติดอยู่ วิธีแก้ไขคือ
- ทำความสะอาดขั้วและตัวเครื่องให้สะอาดหมดจด โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำยาหรือฝุ่นละอองอาจเกาะอยู่
- หากใช้คอยล์สำเร็จรูป ควรเปลี่ยนคอยล์ใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาการลัดวงจรซ้ำ
- สำหรับอะตอมแบบ RDA หรือ RTA ตรวจสอบขดลวดว่าไม่ได้สัมผัสกับฝาปิดหรือชิ้นส่วนอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดการลัดวงจร หากพบปัญหา ควรให้ช่างซ่อมจะปลอดภัยกว่า
2. Atomizer Low
ตัวนี้แสดงว่า ค่าความต้านทานของคอยล์ต่ำเกิน ต้องหยุดใช้งานก่อน เพื่อป้องกันอันตรายโดยวิธีแก้ไขเบื้องต้นคือ ซื้อคอยล์ใหม่ที่มีค่า โอห์มมากกว่าเดินมาเปลี่ยนได้เลย เพราะอะตอมบุหรี่ไฟฟ้าทั่วไปค่อนข้างราคาถูก หาซื้อได้ไม่ยาก
3. Report Time Over
ตัวนี้เป็นการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการใช้งานของหัวอะตอม บุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เครื่องร้อนเกินไป อาจจะเกิดจากที่ผู้สูบกดปุ่มค้างไว้โดยไม่ต้ั้งใจ หรือมีอะไรไปโดนปุ่มกดบนตัวบุหรี่ไฟฟ้า หรือก็อาจจะเกิดจากการสูบ ที่นักสูบ สูบลากยาวเกิน จนอาจจะทำให้เกิดความร้อนที่เกินกำหนดได้ โดยการผลิตจากโรงงานจะแจ้งเตือนไว้ที่เวลาแตกต่างกันไป
4. No Atomizer
การแจ้งเตือนนี้เกิดจากขั้วคอยล์ กับขั้วบุหรี่ไม่แตะกัน ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ อาจจะเกิดขึ้นแต่โรงงานเลยก็เป็นไปได้ หรือเกิดจากตัวขั้วเสื่อมสภาพจากการใช้งาน เพราะเป็นส่วนที่โดนความร้อนอยู่ตลอดเวลา อาจจะทำให้ ขดลวดขาด หรือละลายจากการใช้งานได้ ซึ่งวิธีแก้ไขคือ ลองถอดคอยล์ออกมาก่อน แล้วใส่ใหม่ แต่ถ้าเป็นคอยล์แบบสำเร็จรูป อาจจะต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะไม่สามารถถอดเฉพาะคอยล์ได้ ถ้าเป็นแบบ RBA ที่นักสูบต้องพันลวดเอง ให้ลองตรวจสอบดูว่าส่วนที่พันลวด มีเส้นไหนขาด หรือเสียหายไหม ถ้าเห็นว่าเกิดนจากการที่ขั้วเครื่องจมไปเลย อาจจะต้องส่งให้ช่าง หรือผู้เชียวชาญช่วยดูว่า เกิดจากกอะไร
ข้อดีของอะตอมบุหรี่ไฟฟ้าแบบคอยล์เดียว
คอยล์อะตอมบุหรีไ่ฟฟ้ามีกี่แบบ ? มีทั้งหมด 2 แบบคือแบบคอยล์คู่และแบบคอยล์เดียวอะตอมแท้ ซึ่งทางเราแนะนำแบบคอยล์เดียวมากกว่า โดยข้อดีของของแบบคอยล์เดียวมีดังนี้
- คอยล์เดียวใช้พลังงานน้อยกว่าสองคอยล์ ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมช้ากว่า
- ใช้น้ำยาน้อยกว่าแบบสองคอยล์ เพราะสัมผัสลวดขวดเดียว
- ติดตั้งง่ายกว่า ด้วยจำนวนคอยล์ที่น้อบกว่า และจัดการได้ง่ายกว่า หากอยากได้แบบสองคอยล์แนะนำให้ใช้แบบสำเร็จรูป จะดีกว่า
สรุป
อะตอมบุหรี่ไฟฟ้าแบ่งคร่าวๆในปัจจุบันได้ 4 แบบซึ่งแต่ละแบบจะมีวิธีการใช้งาน และภายในที่แตกต่างกัน โดยแต่ละแบบจะมีวิธีการดูแลรักษา และคุณภาพที่แตกต่างกัน นักสูบสามารถเลือกใช้ตามความต้องการของตัวเองให้เหมาะสมจะดีที่สุด หวังว่าบทความนี้จะตอบคำถามว่า อะตอมบุหรี่ไฟฟ้ามีกี่แบบให้กับผู้อ่านได้ครับ