ถึงแม้จะมีการรณรงค์และการให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของบุหรี่มวนกันให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ว่าในบุหรี่มวนนั้นมีสารพิษมากมายที่ก่อให้เกิดโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลอันตรายต่อชีวิตอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และเตือนภัยถึงอันตรายที่น่ากลัวกว่าที่คิด แต่ไม่ใช่ข้อมูลที่อ่านได้เฉพาะตัวผู้สูบเองเท่านั้น
เพราะนอกจากอันตรายและโทษของบุหรี่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้สูบเองแล้ว มันอาจเป็นภัยร้ายที่มองไม่เห็น ซึ่งส่งผลร้ายไปถึงคนรอบข้างที่รับควันบุหรี่มือสอง หรือคนที่ไม่มีคนรู้จักสูบบุหรี่ก็อาจได้รับภัยจากควันของบุหรี่มือสามตามไปด้วย แล้วจะแก้ปัญหาการสูบบุหรี่มวนได้ยังไงบ้าง? สามารถหันมาใช้ทางเลือกใหม่ที่อันตรายน้อยกว่า เช่น บุหรี่ไฟฟ้า แทนได้หรือไม่ C9 ได้รวบรวมข้อมูลมาอ่านได้ในบทความนี้
สารบัญ
- ใกล้ตัวแค่ไหน? โทษของบุหรี่มวนแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
- สารพิษที่พบได้ในบุหรี่มวน
- โรคร้ายอันตรายที่เกิดจากโทษของบุหรี่มวน
- บุหรี่ไฟฟ้า ทางเลือกใหม่อันตรายน้อยกว่า
- สรุป
ใกล้ตัวแค่ไหน? โทษของบุหรี่มวนแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
โทษบุหรี่มือหนึ่ง
ควันบุหรี่มือหนึ่ง คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบดูดจากมวนบุหรี่เข้าสู่ร่างกายของตัวเองโดยตรง
โทษบุหรี่มือสอง
ควันบุหรี่มือสอง (SecondHand Smoke) คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่สูบเข้าไปในร่างกายและพ่นออกมาภายนอก หรือควันบุหรี่ที่เกิดจากการเผาไหม้ของใบยาสูบโดยที่ยังไม่ได้ผ่านเข้าไปในร่างกายของผู้สูบ ลอยฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างหรือคนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงเผลอสูดดมเข้าไปจนได้รับสารพิษอันตรายและผลเสียของการสูบบุหรี่ได้ไม่แตกต่างจากตัวผู้สูบโดยตรงเลย
โทษบุหรี่มือสาม
ควันบุหรี่มือสาม (ThirdHand Smoke) คือ ควันบุหรี่ที่เราอาจมองไม่เห็น แต่ยังคงตกค้างหลงเหลืออยู่แม้จะหยุดสูบบุหรี่ไปแล้ว ตกค้างติดอยู่ตามเสื้อผ้า เส้นผมของผู้สูบ คนใกล้เคียง หรือตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ หรือสิ่งของอื่นๆ ทำให้สารพิษเกาะติดอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ และกำจัดได้ยากแม้จะทำความสะอาดห้องแล้วก็ตาม
โดยเฉพาะกลุ่มที่อาจได้รับอันตรายจากโทษของบุหรี่มวนหรือควันบุหรี่มือสามคือเด็กและทารก ที่มีความเสี่ยงได้รับสารพิษตกค้างเข้าสู่ร่างกายมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า
สารพิษที่พบได้ในบุหรี่มวน
ทาร์ (Tar)
ทาร์ เป็นละอองเหลวเหนียว สีน้ำตาลคล้ายน้ำมันดิน ประกอบด้วยสารพิษต่างๆ หลายชนิด โดยเฉพาะสารพิษในกลุ่ม PAH เช่น เบนซีน ซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของใบยาสูบและกระดาษที่ใช้มวนบุหรี่ เมื่อสูบเข้าไปสามารถตกค้างในปอดและทางเดินหายใจได้ โดยมากกว่า 50 เปอร์เซ็นของทาร์จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้เยื่อบุหลอดลมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
นิโคติน (Nicotine)
นิโคติน คือสารต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการเสพติดบุหรี่ โดยเมื่อสูบเอาควันบุหรี่เข้าไปในร่างกาย นิโคตินจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว และไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารก่อความสุข เช่น เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) โดพามีน (Dopamine) จึงทำให้รู้สึกพึงพอใจในขณะที่ได้สูบบุหรี่ แต่เมื่อระดับของนิโคตีนในกระแสเลือดลดลง ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด ไม่สบายตัว จนต้องการบุหรี่มาสูบต่อไป
นิโคตินเป็นสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำมัน ไม่มีสี เมื่อเข้าสู่ร่างกายนิโคตินส่วนใหญ่จะจับอยู่ที่ปอด และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด และไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ มะเร็งช่องปาก หลอดอาหาร และตับอ่อน
คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)
คาร์บอนมอนอกไซด์เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของใบยาสูบและกระดาษที่ใช้มวนบุหรี่ นับเป็นก๊าซที่พบได้มากที่สุดในควันบุหรี่ และเป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่พ่นออกจากท่อไอเสียรถยนต์ โดยอาจพบมากถึง 10,000-23,000 ไมโครกรัมต่อบุหรี่ 1 มวน
คาร์บอนมอนอกไซด์จะขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง โดยสามารถจับกับ
ฮีโมโกลบินได้ดีกว่าออกซิเจนถึง 200 เท่า ทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจนน้อยลงไม่ต่ำกว่า 10–15 เปอร์เซ็น จึงทำให้หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้นและทำงานมากขึ้น ซึ่งอาจกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนได้
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide)
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ “ก๊าซไข่เน่า” มีกลิ่นฉุนรุนแรง ไม่มีสี และสามารถติดไฟได้ เป็นก๊าซพิษที่มีผลทำให้ระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ ก่อให้เกิดอาการไอและหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ โดยอาจพบไฮโดรเจนซัลไฟด์ 10-90 ไมโครกรัมต่อบุหรี่ 1 มวน
ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide)
ก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจและถุงลมปอด สาเหตุของโรคทางเดินหายใจ เนื่องจากไปทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม ทำให้ผนังถุงลมบางและโป่งพอง ถุงลมเล็กๆ หลายอันแตกรวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้มีถุงลมจำนวนน้อย ความยืดหยุ่นในการหายใจเข้าออกก็จะน้อยลงตามไปด้วย จนทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
โรคร้ายอันตรายที่เกิดจากโทษของบุหรี่มวน
มะเร็งปอด
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอดสูงถึง 80-90% ซึ่งสารเคมีจากบุหรี่มวนจะทำลายเซลล์ปอด และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หลอดลม ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนี้ โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งคอหอย ฯลฯ โดยผู้ที่สูบบุหรี่มีอัตราความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 10-30 เท่า
ถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพอง หรือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หากยิ่งสูบนาน สูบปริมาณมาก โอกาสที่จะเป็นโรคก็มากขึ้น หรือแม้แต่การได้รับควันบุหรี่มือสองมือสามจากคนใกล้ชิดก็มีโอกาสทำให้เป็นโรคนี้ได้
โรคถุงลมโป่งพอง คือ ภาวะที่ถุงลมเสียความยืดหยุ่นและเปราะง่าย จนอาจมีการแตกทะลุ ถุงลมเล็กๆ หลายอันแตกรวมกันรวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้มีถุงลมจำนวนน้อย พื้นผิวในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอดจึงลดลงตามไปด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจตื้น ไอ และหอบเหนื่อยแม้ไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ
โรคหัวใจและหลอดเลือด
การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เนื่องจากสารพิษในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว เพราะมีการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด เกิดเป็นคราบเกาะภายในทำให้รูหลอดเลือดค่อยๆ ตีบลง จนเกิดการตีบตันของเส้นเลือด เลือดจึงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้น้อยลง เป็นผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลงไปด้วย ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบหรือโรคหัวใจขาดเลือด
สารพิษในบุหรี่เป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด คือ นิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า 25% ของผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะสตรีที่สูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิด ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมากกว่าสตรีทั่วไปเกือบ 40 เท่า
ปอดบวม
การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวมที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยมีสาเหตุจากการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมี ควันบุหรี่เข้าไป โดยอาการของโรคปอดอักเสบ ได้แก่ ไอมีเสมหะ หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจหอบ เจ็บหน้าอกขณะหายใจ หรือตอนไอ เป็นต้น
แม้โรคปอดบวมจะเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมถึงได้รับควันบุหรี่มือสอง มือสามจากผู้อื่น
บุหรี่ไฟฟ้า ทางเลือกใหม่อันตรายน้อยกว่า
บุหรี่ไฟฟ้า ได้เข้ามาเป็นทางเลือกใหม่ ข้อดีของบุหรี่ไฟฟ้า คือ มีอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่มวน เพราะการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่เกิดควันบุหรี่ที่มาจากกระบวนการเผาไหม้อย่างบุหรี่มวน เนื่องจากกลไกการทำงานบุหรี่ไฟฟ้าคือเมื่อเปิดเครื่องให้แบตเตอรี่ของบุหรี่ไฟฟ้าทำงาน จะทำให้เกิดความร้อนซึ่งทำให้น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่บรรจุอยู่ภายในระเหยขึ้นมาเป็นควัน ทำให้คนสูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายจากการเผาไหม้ และไม่มีสารพิษต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้
นอกจากนี้แล้ว บุหรี่ไฟฟ้ายังมีรูปลักษณ์และดีไซน์ที่สวยงาม ขนาดกะทัดรัดใช้งานง่าย สะดวกต่อการพกพา อีกทั้งยังมีกลิ่นและรสชาติของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าให้เลือกหลากหลาย ไม่สร้างกลิ่นควันกวนใจ จึงทำให้บุหรี่ไฟฟ้ากลายเป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ที่ได้รับความนิยมมาขึ้นในกลุ่มคนยุคปัจจุบัน
สรุป
สารพิษต่างๆ ในบุหรี่มวนและอันตรายจากควันที่เกิดจากการเผาไหม้ ไม่ได้ส่งผลกระทบอันตรายแค่เฉพาะตัวผู้สูบเองเท่านั้น แต่มันยังเป็นภัยร้ายที่มองไม่เห็น ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่คนรอบข้าง คนใกล้ชิดรอบตัวผู้สูบเองอีกด้วย หากรู้โทษของบุหรี่มวนเช่นนี้แล้ว แต่ทำยังไงก็ไม่สามารถเลิกดูดบุหรี่ได้ ก็ควรหาทางเลือกอื่น เช่น บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายน้อยกว่า มาเป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่มวน